การบริหารจัดการน้ำ

เขื่อนขุนด่านปราการชล


การบริหารจัดการน้ำ

การบริหารจัดการ น้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งเมื่อเขื่อนเสร็จ

เขื่อนคลองท่าด่านฯ สามารถจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่ได้ทั้งหมด 206 , 359 ไร่ โดยเป็นพื้นที่
ชลประทานสุทธิทั้งหมดจำนวน 6 , 000 ไร่ ประกอบด้วย

- โครงการท่าด่านเดิม 6 , 000 ไร่ ส่งน้ำให้ราษฎรโดยก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต
ยาว 21.91 กม. ช่วยให้น้ำไม่สูญเสียระหว่างทาง ซึ่งเป็นโครงการเก่าตามพระราชดำริ
ถูกใช้งานมานานแล้วและเคยให้น้ำแก่เกษตรกรได้ประมาณหมื่นไร่

นอกจากปัญหาหลักๆ ที่จะได้รับการแก้ไขจากการสร้างเขื่อนคลองท่าด่านฯ แล้ว ผลพลอยได้
้ที่ตามมาก็คือประโยชน์ทางอ้อมซึ่งล้วนแต่จะเป็นผลดีอย่างใหญ่หลวงแก่ชาวนครนายก เช่น
ทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมบริเวณตัวเขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำจะได้รับการพัฒนากลายเป็น
แหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าในเชิงสันทนาการและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อีกทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำ
ยังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รวมถึงเป็นแหล่งชุมชนของนกนานาพันธุ์
ซึ่งนอกจากจะสร้างความสมบูรณ์ทางระบบ นิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพแล้วยังช่วย
สร้างงาน สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นอย่างมหาศาลสมดังพระราชประสงค์ขององค์พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงหมายให้ น้ำทิพย์นี้นำความสุขสมบูรณ์มาสู่ราษฎรของพระองค์อย่างยั่งยืนตลอดไป


เขื่อนขุนด่านฯ นโยบายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

• แหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดใหญ่ท่าสามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรรวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของจังหวัด
• บรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำนครนายก
• เกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการประมาณ 5 , 400 ครัวเรือน
• ใช้น้ำชลประทานชะล้างดินเปรี้ยวจนเหมาะสมแก่การใช้เพาะปลูก
• เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและแหล่งประมงน้ำจืด
• เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่
• เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกขยายตัว ราษฎรมีราย

- สัดส่วนการใช้น้ำ