วิสัยทัศน์และพันธกิจ

เขื่อนขุนด่านปราการชล


วิสัยทัศน์ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล

วิสัยทัศน์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล เป็นหน่วยงานย่อยที่ปฏิบัติงานตามนโยบายของกรมชลประทาน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายของกรมชลประทานจึงใช้วิสัยทัศน์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับกรมชลประทาน คือ

“กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการภายในปี 2579”

เป้าประสงค์หลักของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล

เป้าประสงค์หลัก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานตามนโยบายของกรมชลประทาน ดังนั้น เป้าประสงค์หลักจะยึดตามแนวทางของกรมชลประทาน ทั้ง 4 มิติด้วยกัน ได้แก่ มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ, มิติด้านคุณภาพการให้บริการ, มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และมิติด้านการพัฒนาองค์กร ซึ่งจะพิจารณาแต่ละเป้าประสงค์ตามมิติต่างๆต่อไป ทั้งนี้ กรมชลประทานได้กำหนดเป้าประสงค์ แบ่งออกเป็น 4 มิติ 10 เป้าประสงค์ ดังนี้

  1. มิติประสิทธิผลตามพันธกิจ มี 5 เป้าประสงค์
  2. มิติคุณภาพการให้บริการ มี 3 เป้าประสงค์
  3. มิติประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มี 3 เป้าประสงค์
  4. มิติการพัฒนาองค์กร มี 4 เป้าประสงค์

มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ

  1. มีแหล่งเก็บกักน้ำและมีปริมาณน้ำที่จัดการได้เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
  2. การบริหารจัดการน้ำโดยให้ทุกภาคส่วนได้รับน้ำที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในแต่ละปี
  3. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ลดลง อันเนื่องมาจากอุกทกภัยและภัยแล้ง
  4. ยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนในพื้นที่ไปสู่ระดับการเสริมอำนาจการบริหารจัดการการชลประทาน
  5. เป็นองค์กรอัจฉริยะ

มิติด้านคุณภาพการให้บริการ

  1. การคาดการณ์สถานการณ์น้ำมีความทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของชลประทานที่ทันต่อเหตุการณ์
  2. เพิ่มเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้น้ำ

มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

  1. การปรับเปลี่ยนการใช้น้ำภาคเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทางการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน
  3. ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นและจังหวัดในการพัฒนาโครงการ

มิติด้านการพัฒนาองค์กร

  1. มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ที่เหมาะสมในงานชลประทาน
  2. กระบวนงานที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการทำงานบนฐานดิจิทัลเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  3. บุคลากรมีสมรรถนะสูง
  4. มีผลงานการวิจัยและพัฒนา ที่ใช้ประโยชน์ในงานชลประทาน

 

พันธกิจของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล

  1. พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล
  2. บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม
  3. ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม
  4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ
ประเด็นยุทธศาสตร์
  1. การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลุ่มน้ำ
  2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ
  3. การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
  4. การเสริมอำนาจประชาชนในระดับพื้นที่ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในงานบริหารงานจัดการน้ำชลประทาน
  5. การปรับเปลี่ยนสู่องค์กรอัจฉริยะ
ค่านิยม “WATER for all”
  • W - Work Smart เก่งงาน เก่งคิด
  • A - Accountability รับผิดชอบงาน
  • T - Teamwork & Networking ร่วมมือร่วมประสาน
  • E - Expertise เชี่ยวชาญงานที่ทำ
  • R - Responsiveness นำประโยชน์สู่ประชาชน